แสดงกระทู้

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.


Messages - adulmr

หน้า: 1 [2] 3 4 ... 52
16
ท่านอินทะเนียร์น้อยนี่สุดยอดจริงๆ
ช่างสรรหาคลิปที่น่าสนใจมาสมนาคุณแฟน ๆ ตลอด
ผมเองไม่ได้แวะมาที่บอร์ดเสียนาน
แต่พอเข้ามาครั้งใดก็ไม่เคยผิดหวังครับ

พูดถึงรถไฟฟ้า
เอ้อ ผมหมายถึงรถยนต์ไฟฟ้าครับ ไม่เกี่ยวกับรถไฟฟ้าที่เป็นรถไฟวิ่งบนรางในแบบขนส่งมวลชน

ผมลองคิดกันเล่น ๆ นะครับ
สมมุตินะครับว่า
ถ้าหากผู้ใช้รถบ้านเรา
ใช้รถไฟฟ้ากัน เอาเป็นว่าทั้งประเทศมีรถไฟฟ้าสัก 10 ล้านคัน
(ไปค้นข้อมูล ตุลา 63 บ้านเรามีรถยนต์ไฟฟ้าราว 2 ล้านคัน)

ทีนี้กระแสไฟฟ้าที่ผลิตได้จากโรงไฟฟ้าของประเทศไทย
(รวมทั้งที่การไฟฟ้าซื้อจากโรงไฟฟ้าพลังงานทางเลือก)
ท่านอินทะเนียร์น้อยคิดว่าจะมีกระแสไฟฟ้าป้อนให้เพียงพอกับผู้บริโภคมั้ย
หรือว่ามีเพียงพอ แต่ต้องปรับขึ้นค่าไฟหรือค่า Ft
อิ อิ
(ไม่งั้นรถยนต์ไฟฟ้าอาจจะถึงคราวต้องเอาไปปลูกสะระแหน่กันบ้างล่ะ)

17
อืม....
สุดยอดครับท่านอินทะเนียร์น้อย
นอร์เวย์เค้าไปไกลมากเลยในเรื่องของรถยนต์ไฟฟ้า
คลิปยาวไปสักหน่อย แต่ว่าดูเพลินฟังเพลินกับสำเนียงน่ารัก ๆ ของคุณพี่เค้า

เรื่องนี้ไทยเรายังห่างชั้นอยู่แยะ
ไม่เป็นไร
เราค่อย ๆ คลานตามกันไปก็แล้วกัน
ผมไม่แน่ใจว่ามีวาระรถยนต์ไฟฟ้าบรรจุอยู่ในยุทธศาสตร์ชาติไทย 20 ปี มั้ยน้ออออ

ตอนนี้ก็ให้พวกเราใช้รถไฟฟ้าทางราง (ขนส่งมวลชน) ไปพลาง ๆ
ในอัตราค่าโดยสารที่แพงกว่าเมกาหรืออังกฤษ
ช่วยไม่ได้ ก็คนไทยเรารวยนี่นา
อิ อิ ;D ;D

18
ช็อตต่อไปจากรถยนต์ไฟฟ้า
น่าจะเป็นรถประเภทไหนดีครับท่านอินทะเนียร์น้อย
รถยนต์พลังงานแสงอาทิตย์
รถยนต์พลังงานลม
หรือว่ารถยนต์พลังงานนิวเคลียร์

ส่วนรถยนต์พลังงานไฮโดรเจนหรือพลังงานน้ำ
กับพลังงานแม่เหล็ก
ดูเหมือนจะไม่เวอร์คนะครับ

19
มาพูดถึงเรื่องของแบตเตอรีรถไฟฟ้า
ผมคิดงี้นะท่านอินทะเนียร์น้อย
ผมว่าควรจะใช้ระบบเดียวกับถังแก๊สหุงต้ม
คือตอนที่เราใช้แก๊สหมด
เราก็เอาถัง(แก๊สเปล่า)ไปเปลี่ยน
เอาถังที่ร้านอัดแก๊สไว้เต็มแล้วล่วงหน้า กลับไปใช้ที่บ้าน
โดยไม่ต้องเสียเวลานั่งรอให้ร้านอัดแก๊สเข้าไปใหม่

แบต ฯ รถไฟฟ้าก็น่าจะทำงั้น
คือให้บริษัทรถไฟฟ้าทุกค่ายไปคุยตกลงกันว่า
รถที่ผลิต จะทำระบบแบต ฯ แบบไหน
แล้วก็ผลิตให้มันเหมือน ๆ กัน

คราวนี้
เมื่อรถวิ่งๆไปจนแบตเกือบหมด
เราก็แวะเข้า "ปั๊มแบต ฯ" (เปรียบเป็น ร้านจำหน่ายแก๊ส)
ทางปั๊มก็จะแกะแบต ฯ เดิมออก และใส่แบต ฯ ใหม่ที่ได้ประจุไฟฟ้าไว้ล่วงหน้าจนเต็ม 100 % แล้ว
แบบนี้เจ้าของรถก็ไม่ต้องเสียเวลาคอยนาน
และมีแบตเตอรีใช้และสามารถเปลี่ยนได้ตลอด จนกว่ารถจะหมดอายุการใช้งาน

ส่วนค่าเสื่อมของแบต ฯ
ก็ยกให้เป็นภาระของ "ปั๊มแบต ฯ"
ซึ่งมีการบวกราคาค่าเสื่อมของแบต ฯ เข้าไปในการเปลี่ยนแบตฯแต่ละครั้งแล้วด้วย
แบบนี้น่าจะดีนะครับ
อิ อิ

20
Semi solid state Battery น่าสนใจมากครับท่านอินทะเนียร์น้อย
สิ่งนึงที่ทำให้คนยังไม่นิยมรถยนต์ไฟฟ้า
ผมว่าหลักๆคือเรื่องราคา
โดยเฉพาะต้นทุนของแบต ฯ ทำให้รถมันแพง

ส่วนเรื่องของสถานที่ชาร์จไฟฟ้าที่บอกว่ายังมีน้อย ผมว่าไม่เป็นอุปสรรคเท่าใดนัก
ยิ่งคนกรุงเทพ แค่ใช้รถยนต์ในการขับไปทำงาน
หรือเดินทางท่องเที่ยวในละแวกไม่ห่างจากกรุงเทพ ฯ ยิ่งไม่ต้องกังวลเรื่องสถานที่ชาร์จแบตเตอรี่
เผลอ ๆ ชาร์จเต็มจากบ้านอย่างเดียว ไม่ต้องไปพึ่งที่อื่น

ผมว่าถ้าราคารถยนต์ไฟฟ้าราคาเท่ากับรถน้ำมัน หรือสูงกว่าสัก 10 เปอร์เซ็นต์
คนเบี้ยน้อยหอยเล็กแบบผม ขอซื้อรถยนต์ไฟฟ้ามาใช้แน่ครับ
แต่ถ้าราคารถยังแพงแบบตอนนี้
ขอทู่ซี้ใช้รถน้ำมันจนกว่าโรงงานจะเลิกผลิต หรือปั๊มน้ำมันจะหมดไปจากประเทศไทยครับ

21
ห้องสภากาแฟและอื่นๆ / Re: สวัสดีปีใหม่ 2564
« เมื่อ: มกราคม 04, 2021, 09:02:34 AM »
สวัสดีปีใหม่ชาว thaiengineersociety ที่น่ารักทุกท่านครับ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งท่านอินทะเนียร์น้อย จ้าวสำนักคนขยันของพวกเรา
ซึ่งช่างขยันหาเรื่องราวที่น่าสนใจมาให้พวกเราได้ดูได้ชมได้ตื่นเต้นได้รู้ เพื่อประดับสมอง
ขอให้ทุกท่านมีความสุข สุขภาพดี มีตังค์ใช้ไม่ขาดมือ
และปลอดภัยจากโควิด

ไช้....โย่วววววววว

22
สุดยอดครับ

ทีนี้ผมกังวลว่า
ถ้าเมืองไทยหันมาใช้รถไฟฟ้ากันแยะๆ
กำลังการผลิตไฟฟ้าของโรงไฟฟ้าบ้านเรา
มันจะเพียงพอมั้ยครับนี่ท่านอินทะเนียร์น้อย

23
ท่านอินทะเนียร์น้อยครับ
เรื่องของการเปรียบเทียบน้ำหนักรถสองแบบ
ที่ถามมาก็ด้วยเหตุที่ผมไปอ่านเจอการรีวิวรถไฟฟ้ายี่ห้อ MG
เค้าเขียนไว้ว่า
รถไฟฟ้า MG รุ่น NEW MG ZS EV มีน้ำหนักมากกว่ากว่ารถน้ำมัน MG รุ่น ZS (คือรถรุ่นเดียวกันนั่นแหละ)
ขอคัดลอกข้อความมานะครับ
--------------------
อัตราเร่งทำได้ดีมากหายห่วง อีกรอบกับสถานีทดสอบการทรงตัวหักหลบแบบกระทันหัน ด้วยตัวรถที่มีน้ำหนักมากกว่า ZS และด้วยช่วงล่างที่นุ่มกว่าทำให้มีอาการโยนตัวมากกว่าแต่ด้วยระบบช่วยเหลือต่างๆทำให้สามารถควบคุมรถได้อย่างปลอดภัย
------------------------
https://www.autospinn.com/2019/09/mg-zs-58146

ผมก็เลยสงสัยว่าทำไมถึงเป็นงั้นล่ะ
ในเมื่อรถไฟฟ้า มีอุปกรณ์หลายอย่างที่ถูกถอดออกไป เช่น หม้อน้ำ เครื่องยนต์ ฯลฯ

เอ๊ะ หรือว่าอุปกรณ์ที่ใส่เข้ามาในรถไฟฟ้า มันจะหนักกว่าอุปกรณ์ที่เราถอดออกไป
เช่น มอเตอร์ มันก็มีน้ำหนักแยะอยู่นะครับ ด้วยต้องมีเส้นทองแดงกับอะไรต่อมิอะไรหลายอย่าง
หรือแบตเตอรี่สำหรับประจุไฟฟ้า มันก็หนักเอาเรื่องอยู่นะครับ

สรุปแล้วเรื่องนี้มันเป็นไงกันแน่ครับ
รถไฟฟ้าหนักกว่าหรือเบากว่ารถน้ำมัน

24
มีคำถามครับท่านอินทะเนียร์น้อย
ไม่ใช่เรื่องตุ๊กตายางหรือว่าเรื่องเมีย
แต่เป็นคำถามเกี่ยวกับรถไฟฟ้าอีกนิด

คือผมอยากจะรู้ว่า
ถ้าหากเราสร้างรถยนต์สองคัน ที่มีหน้าตาทรวดทรงสมรรถนะความแรงเท่ากันเป๊ะ
โดยที่คันนึงเป็นรถที่ใช้น้ำมัน (เป็นเครื่องยนต์เบนซินก็แล้วกัน)
ส่วนอีกคันเป็นรถไฟฟ้า
ถามว่า
รถคันไหนจะมีน้ำหนักแยะกว่า
และหนักกว่ากันมากมั้ย
ขอบคุณครับ

25
อืม
แบตเตอรีรถไฟฟ้า (Tesla) 7 ปี เสื่อมประมาณ 5 % เอง
น่าสนใจมากครับท่านอินทะเนียร์น้อย
ไม่รู้ว่าแบตฯรถไฟฟ้าที่ประสิทธิภาพดีที่สุดในยุคนี้ มันจะใช้ได้ราวกี่ปีกันแน่

แต่อายุการใช้งาน (ของแบตฯ) คงน้อยกว่าเมียเราแน่ๆครับ
ถึงแม้ว่าอัตราเสื่อมของเมียจะเร็วกว่าแบตฯ รถ Tesla
แต่เราก็ยังต้องจำใจใช้อยู่จนกว่าจะตายกันไปข้าง
ซึ่งไม่รู้ว่าฝ่ายไหนจะไปก่อนกัน
อิ อิ

26
ท่านอินทะเนียร์น้อยครับ
พูดถึงเรื่องการเสียเวลาในการประจุไฟสำหรับแบตฯรถไฟฟ้า
ซึ่งใช้เวลานาน (อยู่)
ผมนึกไอเดียได้อย่างนึงว่า
เราควรพลิกวิกฤตเป็นโอกาส

คือ เปิดโรงนวด (อาจจะแผนโบราณ ควบกับ (อาบ อบ)นวดแผนปัจจุบัน
หรือจำพวกนวดหน้า นวดฝ่าเท้า นวดสะดือ ก็แล้วแต่สะดวก)
พ่วงไปกับบริการประจุแบต ฯ รถไฟฟ้า
ช่วงแรกเราก็จัดโปรโมชั่น
นวดสองชั่วโมง แถมชาร์จแบต ฯ ฟรี
พอเริ่มติดตลาดเราถึงค่อยมาคิดค่าชาร์จแบต ฯ เพิ่มไปทีหลัง
(เผลอ ๆ อาจจะได้ลูกค้าที่ไม่เคยมีรถไฟฟ้าอะไรกับเค้า แค่มานวดอย่างเดียว
ซึ่งแบบนี้เราก็มีส่วนลดไปสัก 15 เปอร์เซ็นต์)

ท่านอินทะเนียร์น้อย
ลองเขียนโครงการแบบนี้ไปขอกู้เงินจากธนาคารมาลงทุน
ผมว่าเค้าอนุมัติแน่นอนครับ
ถ้ารวยแล้วค่อยมาแบ่งจ่ายค่าไอเดียให้ผมสักสี่ซ้าห้าหมื่นก็พอครับ
ผมไม่เอามาก
อิ อิ

27
อีกอย่างก็เห็นเค้าลือกันว่า
หาที่ชาร์จแบตฯยากเหลือเกิน
โดยเฉพาะในภาคใต้มันไม่ค่อยจะมีเอาเสียเลย
ชาร์จแบตฯเต็มจากที่บ้าน ถ้าคิดจะเดินทางไกลนี่เสี่ยงน่าดู
แต่ถ้าซื้อมาเพื่อใช้แค่ขับไปซื้อขนมครกที่ปากซอย
ดูท่าจะไม่คุ้มนะนา

28
อืม...แต่ว่า
ราคาแอบแรงไปอ่ะ ท่านอินทะเนียร์น้อย
เหมาะสำหรับคนเบี้ยมากหอยใหญ่
คนเบี้ยน้อยหอยเล็ก
ใช้รถน้ำมันไปพลางๆครับ
รอให้รัฐบาลลดภาษีอีกสักหน่อย
แต่คงจะลดยาก
รู้มาว่ากำลังถังแตก
อิ อิ

29
สุดยอดครับท่านอินทะเนียร์น้อย
รู้จริง รู้ลึก

นี่ผมยังนึกฝันเลยว่า
ถ้าหากประเทศของเรา
ได้วิศวกรระดับคุณภาพมาวางนโยบาย
บ้านเราคงพัฒนาไปไกลลิบแล้วล่ะ

ได้ตะหานมากุมอำนาจแบบนี้
วัน ๆ ก็นึกแต่จะควักเงิน (ซึ่งไม่ค่อยจะมีมากนัก) เอาไปซื้ออาวุธมั่ง
ซื้อเรือบินรบมั่ง หรือกระสันไปซื้อเรือดำน้ำ
ไม่รู้ว่าจะไปรบกับผีตนไหน
ทำเอาประเทศเราจนลงไปเรื่อย ๆ
ทำไงดีวะนี่

30
ขอบคุณท่านอินทะเนียร์น้อยสำหรับสาระและความรู้เกี่ยวกับรถไฟฟ้า
ผมตามอ่านอยู่ทุกตอนครับ
เข้าใจบ้าง งงๆไปบ้างในบางหัวข้อ
ด้วยว่าผมเอง ความรู้ที่มีในเรื่องนี้ ก็ระดับงูๆปลาๆเรียกน้องครับ
อิ อิ

ตกลงว่า
รถไฟ ใช้มอเตอร์กระแสตรงในการขับเคลื่อน และไม่มีเกียร์
แต่รถยนต์ไฟฟ้ายังมีระบบเกียร์ ใช้มอเตอร์กระแสสลับ
ผมเข้าใจถูกต้องมั้ยครับ

ทีนี้ ถามว่า
อีตอนที่รถไฟฟ้าจะถอยหลัง
หลักการของมัน ใช้วิธีบังคับด้วยเกียร์ (ถอย)
หรือว่าใช้เทคนิคเปลี่ยนขั้วมอเตอร์เพื่อให้มันหมุนกลับทาง
แล้วรถมันก็วิ่งถอยหลัง
ซึ่งถ้าเป็นแบบนี้ ก็จะไปลดขนาดและความพะรุงพะรังของเกียร์ได้อีกนิดนึง เพราะไม่ต้องไปมีระบบเกียร์ถอยหลัง

สรุปแล้วมันเป็นยังไงกันแน่ครับ
ระหว่างใช้เกียร์ถอยหลัง หรือว่าสลับขั้วของมอเตอร์

หน้า: 1 [2] 3 4 ... 52