เว็บบอร์ด ไทยเอ็นจิเนียร์โซไซตี้ (ThaiEngineerSociety Webboard)

สนทนาตามประสา => ห้องไฟฟ้า / อิเล็กทรอนิกส์ / คอมพิวเตอร์ => ข้อความที่เริ่มโดย: adulmr ที่ มิถุนายน 23, 2020, 11:51:24 AM

หัวข้อ: "หน่วย" ของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า
เริ่มหัวข้อโดย: adulmr ที่ มิถุนายน 23, 2020, 11:51:24 AM
มีคำถามกล้วย ๆ หมู ๆ
แต่ผมไม่ทราบคำตอบจริง ๆ ครับ
เกี่ยวกับ
เครื่องกำเนิดไฟฟ้า (ขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์ดีเซล)
ซึ่งไม่ได้ใช้มือหมุนแบบของลุงชื่น ขวัญใจชาวไทยนะครับ
(ไม่ทราบว่า
ตอนนี้ลุงชื่น
ผู้เขย่าวงการพลังงานไทย ให้บรรดาชาวเน็ตได้ปั่นป่วนดราม่า
เกิดการถกเถียงกันแบบงู ๆ ปลา ๆ จนผู้รู้เกิดอาการเบื่อหน่าย
ลุงแกไปไหนเสียแล้วล่ะ)

ถามว่า "หน่วย" ของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ที่เรียกแบบถูกต้องตามหลักวิชาการจริง ๆ นั้น
เรียกว่าอะไรครับ
ยกตัวอย่าง เช่น
เครื่องกำเนิดไฟฟ้า ขนาด (กำลังไฟฟ้า) 125 กิโลโวลต์แอม (แปร์)
เรียกแบบนี้ ผมเข้าใจว่ามันก็ตรง ๆ ถูกต้องตามนี้
ด้วยผมนึกเอาว่า มันคงมาจากสูตรไฟฟ้าตอนเรียนชั้นมัธยม
P = IV
คือ I กับ V คูณกัน แล้วได้เป็นค่า P คือ กำลังไฟฟ้า
โดยที่ I มีหน่วยเป็น แอมแปร์
V มีหน่วยเป็น โวลต์
พอเอามาคูณกัน หน่่วยก็จะเป็น (กิโล) โวลต์แอม (แปร์)
ไม่รู้ว่าที่เขียนมานั่น ผมเข้าใจถูกต้องมั้ยครับ
หัวข้อ: Re: "หน่วย" ของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า
เริ่มหัวข้อโดย: adulmr ที่ มิถุนายน 23, 2020, 11:53:18 AM
แต่มันมีอีกกรณีนึง
ที่บางคนเค้าเรียก "หน่วย" ของเครื่องกำเนิดไฟฟ้าเป็น (กิโล) วัตต์
เช่น เครื่องกำเนิดไฟฟ้า (กำลังไฟฟ้า) ขนาด 100 กิโลวัตต์

ผมเลยอยากจะถามว่า
"หน่วย" ที่เรียกว่า (กิโล) วัตตต์ นี้
ถ้าเรียกให้มันถูกหลักวิชาการจริง ๆ แล้ว
จะต้องเรียกแบบไหน

เช่น
100 กิโลวัตต์ต่อชั่วโมง (100 กิโลวัตต์/ชั่วโมง)
หรือว่า
100 กิโลวัตต์ชั่วโมง (ไม่ต้องมี "ต่อ")
หรือว่า
100 กิโลวัตต์ (เฉย ๆ) โดยไม่ต้องมีไรต่อท้าย
หรือว่า
ฯลฯ

ขอบคุณสำหรับคำตอบครับ
หัวข้อ: Re: "หน่วย" ของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า
เริ่มหัวข้อโดย: อินทะเนียร์น้อย ที่ มิถุนายน 24, 2020, 01:47:28 PM
สวัสดีครับ ท่าน Adulmr...
นับว่าเป็นมิติใหม่ หลังจากโควิด19 มาเยือน และกำลังจะไปครับท่าน ที่ไม่เคยเห็น คำถามใน ห้องนี้มานาน มาก ทีเดียว ครับ ท่าน สมช  เเละเป็นคำถามที่หลายคนไม่ทราบ เหมือนกัน เพราะ  อย่างที่ ท่าน Adulmrแจงมาละครับ  มันอะไรกันขนาด นี้  สับขาหลอก กันเลย  หรอ   อิอิ
ไม่สับขอหลอกครับท่าน ...ขอชี้แจงท่านAdulmrดังนี้ครับ ท่าน

หน่วยกำลังไฟฟ้าของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ทั้ง กระเเสตรง( DC)และกระเเสสลับ (AC) จะใช้หน่วยที่เรียกว่า....โวลต์ แอมป์(V A)ครับท่าน แต่ถ้ามันมีจำนวนมากขึ้นไปก็จะมีหน่วยใหญ่ให้มันดังนี้ครับ กิโล โวลต์ แอมป์ (KVA) ..เมกกะ โวลต์ แอมป์    (MVA)...ยังไม่เห็นเครื่องกำเนิด เป็น  G VA กิกกะ โวลต์ แอมป์  นะครับท่าน Adulmr
ส่วน วัตต์( Watt)  เป็นหน่วยของกำลังไฟฟ้า ที่ใช้งาน จริง  ครับ ดังนั้น  ถ้าเป็นเครื่องกำเนิดไฟฟ้า แบบกระแสตรง จะได้เป็น  กำลังไฟฟ้า VA จะ เท่ากับ  W ครับ , P(W)=VI  watt  ส่วนเครื่องกำเนิดไฟฟ้ากระเเส สลับจะไม่เท่ากันครับ  มีค่าทีทำให้ไม่เท่ากันตามสูตร นี้ครับ ท่าน
 P(W)=V*I Cosθ watt ครับท่าน
ส่วน วัตต์ ชั่วโมง   เป็นหน่วยเก็บเงิน ท่านไฟฟ้า  ของคนขายไฟฟ้าครับท่าน คือ 1 unit= 1000 w/hr ครับ  หมายความว่า  เครื่องปั่นไฟฟ้าให้ ใช้ จำนวน หนึ่งพันวัตต์ กับเตาอบ กุ้ง ก้ามกาม หรือ ไม่ กาม  ใช้เวลา อบ จนสุกในเวลาหนึ่ง  ช.ม  การไฟฟ้าคิดเงินค่า ปั่น ไฟฟ้า ในการอบกุ้งนี้ 1 unit ถ้าขายหน่วยละ 3บาท ท่านก็ชำระค่าไฟฟ้าไปตามนี้  แต่อาจจะมี เพิ่มค่า บริการ ดำเนินการ ค่ามาเก็บ ค่า ft...อะไรอีก ก้อว่าไปครับท่านAdlmr
หวังว่า คงพอมองเห็นข้อแตกต่างนะครับ ท่าน  หากสงสัย  ถามมาได้อีกนะครับ    แต่ในอนาคต  เราจะปั่นเองใช้  เเต่ไม่เหมือนของ คุณลุงนะครับ  อิอิ   จบข่าว   ;D ;D ;D ;D ;D ;D ;D
หัวข้อ: Re: "หน่วย" ของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า
เริ่มหัวข้อโดย: อินทะเนียร์น้อย ที่ มิถุนายน 25, 2020, 02:11:11 PM
วันนี้ เขียนเป็นภาพมาให้ชม  แบบเข้าใจง่ายๆครับ ท่าน  จบข่าว ;D ;D ;D ;D ;D
หัวข้อ: Re: "หน่วย" ของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า
เริ่มหัวข้อโดย: adulmr ที่ มิถุนายน 25, 2020, 03:53:04 PM
ขอบคุณท่านปรมาจารย์ตั๊กม้อครับ
ถึงแม้ว่าอันสุดท้ายอ่านดูแล้ว รู้สึกงง ๆ มึน ๆ ก็เถอะ
แต่ลุงชื่นพระเอกของผมแกอาจจะเข้าใจภาพนี้ก็ได้นา
ทำเป็นเล่นไป
อิ อิ
หัวข้อ: Re: "หน่วย" ของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า
เริ่มหัวข้อโดย: อินทะเนียร์น้อย ที่ มิถุนายน 26, 2020, 03:27:38 PM
จะขอเพิ่มเติม รูปสามเหลียม มุมฉาก  ดังนี้นะครับ ท่าน  อย่าไปจำปนกันกับสามเหลี่ยม อื่นครับท่าน Adulmr อิอิ
มาที่ด้าน ตรงข้าม มุมฉาก  ของสามเหลี่ยม  ด้านนี้ ความยาวของมัน เราแทนด้วยขนาด กำไฟฟ้าที่ ปั่นได้ ออกมาจาก ตัวเครื่องปั่นไฟ ซึ่งมันก็มี ค่า ที่เราต้องรู้จักมันอยู่ 2 ตัวคือ 1) เเรงดันไฟฟ้า (V, volt)  และ 2)กระเเสไฟฟ้า( I, A) ละครับท่าน   ดังนั้นมันจึงมี สูตรกำลังไฟฟ้าเป็น S= V*I    va  มาต่อ ที่ กำลังไฟฟ้า อีกชื่อ คือ กำลังไฟฟ้าที่ มีหน่วย เป็น วัตต์ (W, watt)เป็นสูตร คือ P= V*I Cosθ   ที่ เราสับสน ว่า ตกลงมันใช้ ชื่ออะไรกันแน่  ที่จริงถ้าไม่เห็นรูปสามเหลียมนี้ จะ มึน งง  ครับ  เพราะ เครื่องกำเนิดไฟฟ้า มันก็ไม่ ยื่นปากมาบอกว่า อะไรเป็นอะไร   มันมีหน้าที่ ให้กระแสไฟฟ้าไหลออกมาจาก ขดลด เมื่อมี สนามแม่เหล็กมาตัดกัน ได้ อะไรมาก็ไม่ทราบ แต่มันมีผลทางด้านกำลังไฟฟ้าอะครับ
เป็นอันว่า ตามที่เรา สมมุติชื่อขึ้นมาเรียกกัน ทั่วโลก ละกัน  กำลังที่มีหน่วยเรียกเป็นวัตต์ นี้แหละ ที่เราใช้เรียก ว่า กำลังไฟฟ้าที่ใช้ได้จริงเมื่อกระเเสไฟฟ้าจากเครื่องปั่นไฟ ผ่าน อุปกรณ์ทางไฟฟ้า เช่น หลอดไฟฟ้า เอาชนิดที่มองเห็นภาพกันง่ายๆ คือ หลอด ไฟฟ้าชนิด เผาไส้ให้ร้อนแลัวเปล่งแสงสว่างออกมา    กำลังส่องสว่าง ที่ใช้ไฟฟ้าไปนั้น  มีหน่วย เป็น วัตต์ (W) ไม่เกี่ยวกับ กำลังส่องสว่างที่ มีหน่วยเป็น ลูเมนส์ นะครับ   จะไม่เรียกว่า โวลต์  แอมป์(V A) อ้าวแล้ว เริ่ม  งง สิ
   งั้นกลับมาดูที่ สามเหลียม มหัศจรรย์ อีกครั้ง  ถ้ามันเป็น เครื่องกำเนิดไฟฟ้าแบบ กระเเสตรง(DC generator) ด้าน ตรงข้าม มุม ฉาก มัน จะลงมาทับกับด้านแนวราบประกอบมุมฉาก  นั้น ก็คือ กำลังไฟฟ้า S=P เพราะ วงจรไฟฟ้ากระเเสตรง มันไม่มีความถี่ ดังนั้น มันจึงไม่มีค่ามุม θ มันมีค่าเป็น0 องศา จึงได้ ค่า ตังคุณ เป็น1 ครับ   
ส่วนเครื่องกำเนิดไฟฟ้าแบบ กระเเสสลับ (AC generator) มันจะกำเนิดไฟฟ้าฟ้าออกมามีความถี่ เช่นในระบบประเทศไทย เป็น 50 Hzถ้า อเมริกา เป็น 60Hz
 
มาต่อ ด้าน ที่ เป็น Q  (Var)พรุ่งนี้ เพราะมันยาวเกินไป จะ งง  มากขึ้น  เอาไว้ เข้าใจ สองด้านนี้ ชัดก่อน  ด้าน นี้ ก็  ขำๆๆๆ   อิอิ     จบข่าว ;D ;D ;D ;D ;D
หัวข้อ: Re: "หน่วย" ของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า
เริ่มหัวข้อโดย: อินทะเนียร์น้อย ที่ มิถุนายน 28, 2020, 09:36:25 AM
ขออภัยเมื่อวาน เวปล่ม เข้ามา พบท่าน Adulmr ไม่ได้ครับ    มาได้แล้ววันนี้ ก็ บรรเลงกันเลยครับ ท่าน   อิอิ

จากรูป สามเหลี่ยมกำลังไฟฟ้า ที่ เห็นนี้ จะพบว่า ด้าน ตรงกันข้ามกับมุมฉาก มันไม่ทับกับด้านประกอบมุมฉากแนวราบ  เพราะถ้าเป็นเครื่องกำเนิดไฟฟ้าแบบกระเเสสลับ (AC generator)   มันจะมี ความถี่ของคลื่นไฟฟ้า จะเป็น 50Hzในไทย  ดังนั้น เมื่อมันมีความถี่ ในวงจรของการส่งจ่ายไฟฟ้าไปตามสายไฟฟ้า จนถึงผู้ใช้ หรือ บ้านเราแหละ  สายส่งไฟฟ้า มันจะทำตัว เป็น ค่า  L , C , R  ทำให้เกิด กำลังไฟฟ้า ขึ้นมาใหม่ ที่เราไม่ได้ใช้งานมันเลย  มี แต่เป็นตัวสูญเสียไป เท่านั้น  กำลังไฟฟ้าที่เพิ่มมานี้ เป็นด้านประกอบมุมฉาก แนวตั้ง  เรียกมันว่า Q มีหน่วย เป็น   VAR  กำลังตัวนี้ การไฟฟ้าคิดค่าไฟฟ้าด้วย นะจ๊ะ    เพราะทำให้ การไฟฟ้า ปั่นไฟฟ้าได้มาก แต่ ส่งไปที่ บ้านลูกค้า หรือ โรงงาน ได้ใช้ไฟฟ้า น้อยกว่าปั่นออกมา ทำให้การไฟฟ้า เสียค่าน้ำมันปั่น เสียเงินสร้างเขื่อนใหญๆ   ดังนั้น  จึงมี วิธีการ  แก้ให้ ด้าน ตรงข้ามมุมฉาก มัน ลงมาทับ กับ ด้านประกอบมุมฉาก แนวราบให้ได้มากที่สุด  เหมือน เครื่องกำเนิดไฟฟ้า กระเเสตรง  ครับ ท่าน
ในภาพ S1  จะมีค่า มากกว่าS2 ดูที่ ความยาวของ สามเหลี่ยม นี้ครับ ดังนั้น มันจึงทำให้มีค่า ความสูญเสีย มากกว่า S2 นั่นคือ ค่า Q1 มากกว่า Q2  ดูได้ที่ความยาวของ ด้านแนวตั้ง จะสั้นกว่า Q1 ครับ
ขบวนการนี้ เราจะเรียก มันว่า  การแก้พาวเวอร์แฟคเตอร์ ซึงเรามีตัวที่จะทำให้แก้ได้ คือ   ตัวคาปาซิเตอร์ หรือ ค่า C ในวงจรไฟฟ้านี้ นั่นเองครับ    ดังเราจะมองเห็น ตามเสาไฟฟ้า ที่เป็น ตัวสี่เหลี่ยม เป็น ระยะๆ   นั่นคือการไฟฟ้า แก้ให้ในระบบ และคิดค่าใช้กับโรงงานที่ใช้ไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าแล้ว ไม่ช่วยแก้ ค่านี้ ในโรงงานของตัวเอง    ส่วนบ้านพัก การไฟฟ้า เขา รับผิดชอบให้ แต่ถ้าใช้มากๆเกินข้อกหนดของบ้าน ก็ต้อง คิดเงินด้วยจร้าาาา   อิอิ  จบข่าว   ;D ;D ;D ;D ;D ;D ;D
หัวข้อ: Re: "หน่วย" ของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า
เริ่มหัวข้อโดย: อินทะเนียร์น้อย ที่ มิถุนายน 29, 2020, 02:37:23 PM
เมื่อมันมีค่า สูญเสีย จาก การ ส่งจ่ายกำลังไฟฟ้า  จึงมีการแก้ พาวเวอร์แฟคเตอร์ขึ้น  และ สร้าง อุปกรณ์ ขายกัน เป็นธุรกิจ ทั่วโลกที่มีการใช้ไฟฟ้า   มาชมวงจรมันมั่ง  จะเป็นหน้า ตาอย่างไร  อิอิ   จบข่าว  ;D ;D ;D ;D ;D ;D

https://www.youtube.com/v/QurQLW5Qo9M

https://www.youtube.com/v/umJn1nB_ESg
หัวข้อ: Re: "หน่วย" ของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า
เริ่มหัวข้อโดย: อินทะเนียร์น้อย ที่ มิถุนายน 30, 2020, 11:43:14 AM

มาชมการคิดค่าไฟฟ้า กันมั่ง ครับ ท่าน   เมื่อทราบแล้วจะได้คิดว่า   จะไปหาลุงปั่นเองหรือ ใชบริการ ของการไฟฟ้า  ดี  ลองชมนะจะจ๊ะ   อิอิ   จบข่าว

https://www.youtube.com/v/5bEIkDPqfUI
หัวข้อ: Re: "หน่วย" ของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า
เริ่มหัวข้อโดย: Administrator ที่ กรกฎาคม 01, 2020, 02:13:29 PM
"ค่าบริการ" ดูเหมือนจะลดลมาหน่อยนึงนะครับ
เมื่อก่อนถ้าผมจำไม่ผิด
ค่าบริการรู้สึกว่าราว ๆ สามสิบกว่าบาท
จนมีคนส่งข้อความโวยตามหน้าโซเชี่ยล

แต่ ณ ตอนนี้
การประปาส่วนภูมิภาค ยังคิดค่าบริการแพงหูฉี่เหมือนเดิม
สามสิบกว่าบาท
น่จะเปิดให้เอกชนมาแข่งด้วยนะ
การประปา (ผูกขาด) จะได้เจ๊ง
 8)
หัวข้อ: Re: "หน่วย" ของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า
เริ่มหัวข้อโดย: อินทะเนียร์น้อย ที่ กรกฎาคม 01, 2020, 05:20:48 PM
สวัสดีครับ ท่าน Adulmr จริงครับ  ต้องมีการ ไฟต์กันหน่อยครับ ท่าน  แต่นำประปา ก็ยัง ต้อง สิโรราบ การรปะปา ครับท่าน แต่เรื่อง..  ดื่มจากก๊อก ...ได้เหมือนใน ต่างประเทศ อะครับ   ของเรายังนะครับแถมวันก่อนบอกว่า นำมาหุ่งข้าวไม่ได้อีก  เฮ้อ กลุ่มเลยครับ ท่านAdulmr  ว่ากันว่า คลอลีน มีมาก อะครับ ยังไม่เหมาะในการ ใช้แบบนี้  ดังนั้น บริษัทขายน้ำดื่ม ก็  รวยกันไป  ครับท่าน เอ้ามาฟัง ผู้เกี่ยวข้อง  เล่าให้ฟัง ครับ ท่าน    จบข่าว ;D ;D ;D ;D ;D ;D

https://www.youtube.com/v/W2k9NpNGbwo

หัวข้อ: Re: "หน่วย" ของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า
เริ่มหัวข้อโดย: siaxa22 ที่ พฤศจิกายน 15, 2022, 01:44:34 PM
ขอบคุณครับได้ความรู้มากๆ
หัวข้อ: Re: "หน่วย" ของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า
เริ่มหัวข้อโดย: siaxa10 ที่ มีนาคม 25, 2024, 10:20:04 AM

ขอบคุณครับ