ผู้เขียน หัวข้อ: คอนกรีตโครงไม้ไผ่  (อ่าน 13718 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ adulmr

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 772
  • มงกุฎ: 1
    • ดูรายละเอียด
คอนกรีตโครงไม้ไผ่
« เมื่อ: สิงหาคม 14, 2012, 11:02:18 AM »
หลายปีมาแล้ว ผมไปเห็นเค้าทำพื้นคอนกรีต
แต่แทนที่จะใช้เหล็กเส้นผูกเป็นโครง เค้ากลับใช้ไม้ไผ่ผ่าซีก ผูกเป็นโครงแทนเหล็กเส้น
อยากจะถามว่า ตามหลักการแล้ว มันใช้ได้หรือ ? ความทนทานเป็นยังไงครับ
แล้วไม้ไผ่ผ่าซีกมันมีคุณสมบัติเทียบเคียงกับเหล็กเส้นอย่างไรบ้าง ?
ตอนหลังผมก็ได้ไปเห็นเค้าปั้นโอ่งเก็บน้ำ (คอนกรีต) ใช้ไม้ไผ่เช่นกัน
แต่มันนานหลายปีแล้วครับ จำไม่ได้ว่ารายละเอียดมันเป็นยังไง

ออฟไลน์ วศวิ

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 11
  • มงกุฎ: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: คอนกรีตโครงไม้ไผ่
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: สิงหาคม 15, 2012, 04:54:32 AM »
คอนกรีตเสริมด้วยไม้ไผ่ สามารถใช้กับโครงสร้างที่ไม่รับแรงมากนัำกได้ครับ เช่นพื้นถนน/ทางเดิน  ฯลฯ โดยไม้ไผ่จะทำหน้าที่รับแรงดึง แบบเดียวกับเหล็กในคอนกรีตเสริมเหล็ก ......ความสามารถในการรับแรงดึงของไม้ไผ่ใกล้เคียงกับเหล็กเส้นกลม (ขึ้นอยู่กับชนิด/พันธุ์ ของไม้ไผ่ด้วย)

...แต่ปัญหาของไม้ไผ่มันอยู่ที่
 - ความคงทน ไม้ไผ่มันจะผุ/ ถูกทำลายโดยแมลง และเชื้อราได้ง่าย
 - การยืดหดตัว ไม้ไผ่มันจะมีการยืดหดตัวมากเมื่อโดนน้ำ ทำให้สูญเสียแรงยึดเหนี่่ยวกับคอนกรีต เช่นเวลาระหว่างเทคอนกรีต ไม้ไผ่ก็จะดูดน้ำจากคอนกรีตจนพอง พอคอนกรีตแข็งตัว น้ำระเหยไปมันก็จะหด ทีนี้ก็เลยไม่ติดกับคอนกรีตซะแล้ว เกิดการหลุดร่อน จนคอนกรีตรับนน.ไม่ได้

ตอนสมัยเรียน (ซึ่งขอบอกว่านานมากแว้ว.....) เคยเห็นเพื่อนๆไปช่วยอาจารย์ทำวิจัยสร้างบ้านด้วยคอนกรีตเสริมไม้ไผ่  ตอนนี้ก็ยังนิยมใช้อยู่นะครับ  ส่วนใหญ่เป็นถนนในหมู่บ้าน ฯลฯ เพราะราคาถูกกว่ากันมาก แต่ก็ต้องมีวิธีปรับปรุงคุณภาพ   เช่น ชุบน้ำยากันเชื้อรา   coat ผิวกันดูดซึมน้ำ ฯลฯ

อยากรู้เพิ่ม ดูที่นี่   www.lib.buu.ac.th/st/Engineering/Civil/2550/ittiwat.pdf

ออฟไลน์ อินทะเนียร์น้อย

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 6105
  • มงกุฎ: 3
    • ดูรายละเอียด
Re: คอนกรีตโครงไม้ไผ่
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: สิงหาคม 15, 2012, 08:27:13 AM »
สวัสดีครับ ท่าน วศวิ
ถ้าปัญหามาแนวโยธาละก้อ...ท่านจอมยุทธ์แห่งโยธาท่านนี้มาเมื่อเราปลื้มครับ ไม่ผิดหวัง ขอรับอนิสงค์นี้จากท่านด้วยคนครับ  ท่าน วศวิ    ขอปรบมือให้ครับ....เห็นด้วยครับ ท่าน อดุลย์ แหม่ผมก็เคยเจอเหมือนกันที่ช่างชาวบ้านเค้าเอาไม้ไผ่ มาทำตะเเกรงแทนเหล็ก ถนนหน้าบ้าน เพิง งี้ ก็สงสัยอยู่เหมือนกันครับ คั้นจะไปถามช่างเค้าเดี๋ยวจะได้คำตอบ คือ ฆ้อนปอนด์   อิอิ   ...ท่าน วศวิ  ..มาให้ความกระจ่าง  สุดยอด   ขอขอบคุณท่านอีกครั้งครับ  ส่วนโอ่งก็คงตามหลักการ ชลอมใส่ผลไม้นะครับ ท่าน อดุลย์ แต่หุ้มด้วยปูนซีเมนต์  อิอิ   ...ยกไม่ได้เอาตั้งไว้ในห้องน้ำแหละ(ให้น้องเหี่ยว อาบ ชำระล้าง อิอิ)   จบข่าว

ออฟไลน์ adulmr

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 772
  • มงกุฎ: 1
    • ดูรายละเอียด
Re: คอนกรีตโครงไม้ไผ่
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: สิงหาคม 16, 2012, 02:22:04 PM »
ขอบคุณท่านวศวิ ครับ

ออฟไลน์ paramaji11

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 1
  • มงกุฎ: 0
  • เว็บบอร์ด ไทยเอ็นจิเนียร์โซไซตี้ ยินดีต้อนรับ
    • ดูรายละเอียด
    • Powercut
Re: คอนกรีตโครงไม้ไผ่
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: พฤศจิกายน 07, 2012, 10:30:27 AM »
น่าสนใจนะครับ

ผู้นำเข้าและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ Diamond Tools (ใบตัดคอนกรีต)

ออฟไลน์ mycuttermake

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 1
  • มงกุฎ: 0
  • เว็บบอร์ด ไทยเอ็นจิเนียร์โซไซตี้ ยินดีต้อนรับ
    • ดูรายละเอียด
    • ใบตัดคอนกรีต
Re: คอนกรีตโครงไม้ไผ่
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: ธันวาคม 07, 2012, 02:28:27 PM »
คอนกรีตเสริมด้วยไม้ไผ่ สามารถใช้กับโครงสร้างที่ไม่รับแรงมากนัำกได้ครับ เช่นพื้นถนน/ทางเดิน  ฯลฯ โดยไม้ไผ่จะทำหน้าที่รับแรงดึง แบบเดียวกับเหล็กในคอนกรีตเสริมเหล็ก ......ความสามารถในการรับแรงดึงของไม้ไผ่ใกล้เคียงกับเหล็กเส้นกลม (ขึ้นอยู่กับชนิด/พันธุ์ ของไม้ไผ่ด้วย)

...แต่ปัญหาของไม้ไผ่มันอยู่ที่
 - ความคงทน ไม้ไผ่มันจะผุ/ ถูกทำลายโดยแมลง และเชื้อราได้ง่าย
 - การยืดหดตัว ไม้ไผ่มันจะมีการยืดหดตัวมากเมื่อโดนน้ำ ทำให้สูญเสียแรงยึดเหนี่่ยวกับคอนกรีต เช่นเวลาระหว่างเทคอนกรีต ไม้ไผ่ก็จะดูดน้ำจากคอนกรีตจนพอง พอคอนกรีตแข็งตัว น้ำระเหยไปมันก็จะหด ทีนี้ก็เลยไม่ติดกับคอนกรีตซะแล้ว เกิดการหลุดร่อน จนคอนกรีตรับนน.ไม่ได้

ตอนสมัยเรียน (ซึ่งขอบอกว่านานมากแว้ว.....) เคยเห็นเพื่อนๆไปช่วยอาจารย์ทำวิจัยสร้างบ้านด้วยคอนกรีตเสริมไม้ไผ่  ตอนนี้ก็ยังนิยมใช้อยู่นะครับ  ส่วนใหญ่เป็นถนนในหมู่บ้าน ฯลฯ เพราะราคาถูกกว่ากันมาก แต่ก็ต้องมีวิธีปรับปรุงคุณภาพ   เช่น ชุบน้ำยากันเชื้อรา   coat ผิวกันดูดซึมน้ำ ฯลฯ

อยากรู้เพิ่ม ดูที่นี่   www.lib.buu.ac.th/st/Engineering/Civil/2550/ittiwat.pdf


ความรู้เต็มๆเลยครับ